facerbooktessabanuthai

หน้าแรก
ประวัติความเป็นมา
วิสัยทัศน์ / พันธกิจ
ข้อมูลพื้นฐานทั่วไป
อำนาจหน้าที่/ ภารกิจ
สถานที่สำคัญ
สำนักงานเทศบาล
แผนที่แสดงที่ตั้ง

โครงสร้างองค์กรเทศบาล
โครงสร้างการแบ่งส่วนราชการ
คณะผู้บริหารเทศบาลตำบล
สมาชิกสภาเทศบาล
หัวหน้าส่วนราชการ
สำนักปลัดเทศบาล
กองคลัง
กองช่าง
กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ
กองการศึกษา
กองสาธารณสุขฯ
กองสวัสดิการสังคม
หน่วยงานตรวจสอบภายใน

กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน
ผู้นำชุมชนเทศบาล
อาสาสมัคร อสม.
อาสาสมัคร อปพร.
กองทุนหมู่บ้าน(กทบ)
สภาวัฒนธรรม.
สภาเด็กและเยาวชน

แถลงนโยบายนายกต่อสภา
ยุทธศาสตร์การพัฒนา
เทศบัญญัติตำบล
เทศบัญญัติงบประมาณรายจ่าย
แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา
แผนพัฒนาเทศบาล
แผนดำเนินการประจำปี
แผนการจัดหาพัสดุ
แผนอัตรากำลัง
รายงานการประเมินผลแผน
รายงานการจัดเก็บรายได้
รายงานการปฏิบัติงานอื่นๆ
รายงานการเงินประจำปี
รายงานผลจัดซื้อจัดจ้าง/
   การจัดหาพัสดุประจำปี(สขร.)

สรุปผลจัดซื้อจัดจ้าง/
  การจัดหาพัสดุรายเดือน(สขร.1)

ข้อมูลเชิงสถิติเรื่องร้องเรียน
     การทุจริตประจำปี

แนวปฏิบัติการจัดการ
     เรื่องร้องเรียนการทุจริต

เจตจำนงสุจริต
แผนปฏิบัติการป้องกัน
     การทุจริตประจำปี

ข้อมูลข่าวสาร
การพัฒนาจรรยาบรรณและ
 คุญธรรมความโปร่งใสในการทำงาน

การควบคุมภายใน
สถิติการให้บริการ
ผลประกาศสอบราคา
รายงานประชุมสภาเทศบาล
รายงานประชุมประชาคม
E-service
ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์
ศูนย์ร้องเรียนการทุจริต
สายตรงนายก
แบบวัดความพึงพอใจ
แสดงความคิดเห็นของประชาชน
เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ/ผู้พิการ
พรบ./ข้อระเบียบ/กฏกระทรวง
ระเบียบการรับบริการต่างๆ
สาระน่ารู้/เอกสารเผยแพร่
ผู้ดูแลระบบ
สถาบันพัฒนาบุคลากร
ปปช
อุทาหรณ์จากคดีปกครอง
Visited :
เริ่มนับตั้งแต่
วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
หน้าหลัก ข่าว กิจกรรม สินค้า OTOP กระดานสนทนา ท่องเที่ยว ติดต่อ อบต.
 
 
   
   
 
วัดไชยวัฒนาราม  
ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตกนอกเกาะเมือง เป็นวัดที่พระเจ้าปราสาททอง กษัตริย์กรุงศรีอยุธยาองค์ที่ 24 (พ.ศ. 2173-2198) โปรดให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2173 ได้ชื่อว่าเป็นวัดที่มีความงดงามมากแห่งหนึ่งในกรุงศรีอยุธยา ความสำคัญอีกประการหนึ่งคือ วัดนี้เป็นที่ฝังพระศพของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์(เจ้าฟ้ากุ้ง) กวีเอกสมัยอยุธยาตอนปลายกับเจ้าฟ้าสังวาลย์ซึ่งต้องพระราชอาญาโบยจนสิ้นพระชนม์ในรัชสมัยของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ สิ่งที่น่าชมภายในวัด ได้แก่ พระปรางค์ศรีรัตนมหาธาตุ เป็นปรางค์ประธานของวัดตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสและที่มุมฐานมีปรางค์ทิศประจำอยู่ทั้งสี่มุม การที่สมเด็จพระเจ้าปราสาททองซึ่งเป็นกษัตริย์สมัยอยุธยาตอนปลายทรงสร้างปรางค์ขนาดใหญ่เป็นประธานของวัดเท่ากับเป็นการรื้อฟื้นศิลปะสมัยอยุธยาตอนต้นที่นิยมสร้างปรางค์เป็นประธานของวัดเช่นการสร้างปรางค์ที่วัดมหาธาตุและวัดราชบูรณะ เนื่องมาจากพระองค์ทรงได้เขมรมาอยู่ใต้อำนาจจึงมีการนำรูปแบบสถาปัตยกรรมเขมรเข้ามาใช้ในการก่อสร้างปรางค์อีกครั้งหนึ่ง นอกจากนี้ยังมีพระระเบียงรอบปรางค์ประธาน ภายในพระระเบียงมีพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย ผนังระเบียงก่อด้วยอิฐถือปูน มีลูกกรงหลอกเป็นรูปลายกุดั่น พระอุโบสถ อยู่ด้านหน้าของวัดภายในมีซากพระประธานเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยสร้างด้วยหินทราย ใบเสมาของพระอุโบสถทำด้วยหินสีค่อนข้างเขียว จำหลักเป็นลายประจำยามและลายก้านขด และเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง ทางด้านหน้าพระอุโบสถมีเจดีย์ 2 องค์ ฐานกว้าง 12 เมตร สูง 12 เมตร ซึ่งถือเป็นศิลปะที่เริ่มมีแพร่หลายตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง วัดไชยวัฒนารามได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ เมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2478 และกรมศิลปากรได้ดำเนินการบูรณะตลอดมาจนปัจจุบันไม่มีสภาพรกร้างอยู่ในป่าอีกแล้ว และยังคงมองเห็นเค้าแห่งความสวยงามยิ่งใหญ่ตระการตา ซึ่งผู้ไปเยือนไม่ควรพลาดชมอย่างยิ่ง เวลาเปิด-ปิด : เปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่เวลา 08.30–16.30 น. อัตราค่าเข้าชม : ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างประเทศ 50 บาท หรือสามารถซื้อบัตรรวมได้ ชาวไทย 40 บาท ชาวต่างประเทศ 220 บาท โดยบัตรนี้สามารถเข้าชมวัดและพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้ ภายในระยะเวลา 30 วัน อันได้แก่ วัดพระศรีสรรเพชญ์และพระราชวังหลวง วัดมหาธาตุ วัดราชบูรณะ วัดพระราม วัดมเหยงค์ วัดไชยวัฒนาราม, พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา ชาวไทย 30 บาท ชาวต่างประเทศ 150 บาท และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม ชาวไทย 20 บาท ชาวต่างประเทศ 100 บาท หมายเหตุ ตั้งแต่เวลาประมาณ 19.30- 21.00 น. จะมีการส่องไฟชมโบราณสถาน การเดินทาง สามารถใช้เส้นทางได้หลายเส้นทาง ได้แก่ ทางเรือ ท่านอาจเช่าเหมาเรือหางยาวจากบริเวณหลังลานจอดรถฝั่งตรงข้ามพระราชวังจันทรเกษมด้านตะวันออกของเกาะเมือง ล่องไปตามลำน้ำป่าสักลงไปทางใต้ผ่านวิทยาลัยการต่อเรือพระนครศรีอยุธยา วัดพนัญเชิงวรวิหาร วัดพุทไธศวรรย์ โบสถ์โปรตุเกส วัดไชยวัฒนาราม วัดกษัตราธิราชวรวิหาร และเจดีย์พระศรีสุริโยทัยอันสง่างามอีกด้วย ซึ่งจะทำให้การเดินทางมีรสชาติไปอีกแบบหนึ่งโดยเฉพาะเวลาพลบค่ำจะเห็นภาพบริเวณวัดไชยวัฒนารามงดงามมาก ทางรถยนต์ สามารถใช้เส้นทางเดียวกับวัดกษัตราธิราช แต่พอข้ามสะพานวัดกษัตราธิราชไปแล้วให้เลี้ยวขวาแล้วตรงไปเรื่อยๆ ก็จะเห็นวัดไชยวัฒนารามตั้งเด่นเป็นสง่าอยู่ทางด้านหน้า


 
   
   
 
โบสถ์เซนต์ยอเซฟ  
ตั้งอยู่ที่ตำบลสำเภาล่ม ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ด้านทิศไต้นอกเกาะเมือง ศิลปแบบฝรั่งเศส เป็นโบสถ์คริสต์แห่งแรกในประเทศไทย สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง โดยคณะธรรมฑูตนำโดยพระสังฆราชลังแบรต์ เดอลาม็อต และพระสงฆ์ 2 รูป จากนครปารีส เดินทางมาเผยแผ่ศาสนาในดินแดนตะวันออกไกล และได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเพื่อขอพระบรมราชนุญาตในการสร้างวัด โรงเรียน และโรงพยาบาลขึ้นในกรุงศรีอยุธยา โดยสมเด็จพระนารายณ์ได้พระราชทานที่ดินริมแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อสร้างวัดและโรงเรียน เรียกกันว่า "ค่ายนักบุญยอแซฟ" แต่เมื่อครั้งเสียกรุงครั้งที่ 2 ได้ถูกเผาวอดไป วัดนักบุญยอแซฟในปัจจุบันสร้างโดยคุณพ่อแปร์โรซ์ ซึ่งแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2434 ตรงกับรัชสมัยพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตัวโบสถ์มีความสวยสง่าประดับกระจกสี เหนือช่องหน้าต่าง พระแท่นหินอ่อนลวดลายงดงาม ซึ่งได้มีการบูรณะและใช้เป็นที่ประกอบศาสนกิจ ศูนย์รวมศรัทธาแห่งชาวคริสต์มาจนปัจจุบัน ถือได้ว่าวัดนักบุญยอแซฟนั้นเป็นเช่นอนุสรณ์และเป็นพยานยืนยัน ถึงจุดแรกเริ่มของการเผยแพร่ศาสนาคริสต์เป็นแห่งแรกในประเทศไทย ดังที่ได้จารึกไว้ที่ประตูด้านในของโบสถ์แห่งนี้ งานฉลองวัดจัดขึ้นทุกปีในวันเสาร์สัปดาห์ที่ 3 ของเดือนมีนาคม การเข้าชมควรติดต่อขอนุญาตจากบาทหลวงผู้รับผิดชอบก่อนล่วงหน้า โทร. 0 3532 1447


 
   
   
 
วัดตูม  
ตั้งอยู่บริเวณริมคลองวัดตูม ถนนอยุธยา-อ่างทอง ห่างจากตัวเมืองอยุธยา ประมาณ 6-7 กิโลเมตร ในท้องที่ตำบลวัดตูม มีเนื้อที่ประมาณ 15 ไร่เศษ วัดนี้ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างตั้งแต่เมื่อไร ใครเป็นผู้สร้าง ทราบกันแต่เพียงว่าเป็นวัดโบราณตั้งแต่สมัยเมืองอโยธยา ก่อนที่จะตั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี วัดนี้คงเป็นวัดร้างมาครั้งหนึ่งเมื่อคราวเสียกรุงในปี พ.ศ. 2310 ครั้นถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ในรัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้มีผู้ปฏิสังขรณ์ขึ้นอีกและเป็นวัดที่พระสงฆ์อยู่จำพรรษามาจนทุกวันนี้ วัดตูมนี้เป็นที่สำหรับลงเครื่องพิชัยสงครามแต่ดั้งเดิมมาคงเป็นแต่แรกตั้งกรุงอโยธยาตลอดจนถึงทุกวันนี้ไม่ต่ำกว่า 1,000 ปี สิ่งที่น่าสนใจภายในวัดได้แก่ พระพุทธรูปซึ่งมีลักษณะพิเศษคือ พระเศียรตอนเหนือพระนลาฎ (หน้าผาก) เปิดออกได้และพระเกศมาลาถอดได้ ภายในพระเศียรเป็นบ่อกว้างลึกลงไปเกือบถึงพระศอ มีน้ำไหลซึมออกมาตลอดเวลาเหมือนหยาดเหงื่อ เป็นน้ำใสเย็นบริสุทธิ์ปราศจากมลทิน สามารถรับประทานได้โดยปราศจากอันตรายใดๆ และไม่แห้งขาดหาย พระพุทธรูปองค์นี้เป็นพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ทรงเครื่อง ปางมารวิชัย นามเดิมของท่านคือ “หลวงพ่อทองสุขสัมฤทธิ์” เรียกกันเป็นสามัญว่า “หลวงพ่อสุข” หน้าตักกว้าง 87 เซนติเมตร สูง 1.50 เมตร สร้างสมัยใดไม่ปรากฎตำนาน เป็นพระทรงเครื่องแบบมหาจักรพรรดิ์ราชาอธิวาสสวมมงกุฎ มีกุณฑลทับทรวง สังวาลพาหุรัดประดับด้วยเนาวรัตน์ ประทับนั่งขัดสมาธิ พระพุทธรูปองค์นี้จะเปิดเศียรพระทุกวันที่ 1 ของเดือน


 
   
   
 
ปราสาทนครหลวง  
ตั้งอยู่ริมแม่น้ำป่าสักฝั่งทิศตะวันออก ในเขตตำบลนครหลวง เดิมเป็นตำหนักที่ประทับของกษัตริย์ในระหว่างเสด็จไปนมัสการพระพุทธบาทสระบุรีและเป็นที่ประทับแรมในระหว่างเสด็จไปลพบุรี สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม แต่มาสร้างเป็นที่ประทับก่ออิฐถือปูนในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองเมื่อ พ.ศ. 2174 พระองค์โปรดให้ช่างถ่ายแบบมาจากปราสาทศิลาที่เรียกว่า “พระนครหลวง” ในประเทศกัมพูชา นำมาสร้างใกล้กับวัดเทพจันทร์เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติที่ได้กรุงกัมพูชากลับมาเป็นประเทศราชอีก แต่สร้างไม่เสร็จสมบูรณ์ด้วยประการใดไม่ปรากฏ องค์ปราสาทสีเหลืองงดงาม ต่อมาจึงมีผู้สร้างมณฑปและพระบาทสี่รอยขึ้นบนปราสาทนี้ ส่วนตำหนักที่สร้างอยู่ข้างปราสาทนี้ได้ปรักหักพังไปหมดแล้ว สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ได้ทรงพระกรุณาเสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีฯเปิดเมื่อ พ.ศ. 2538